หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล โพธิ์ประสาท ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
 
นายวิรัตน์​ สีแดง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ประสาท
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
อบต.โพธิ์ประสาท
ที่ทำการ อบต.โพธิ์ประสาท
วิสัยทัศน์ อบต.โพธิ์ประสาท
" การบริหารโปร่งใส ร่วมใจพัฒนา
ประชาร่วมคิดทำ นำพาโพธิ์ประสาทเจริญ "
สถานที่เรียนรู้และสินค้า OTOP
ในตำบลโพธิ์ประสาท
องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ประสาท
อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์
1
2
3
 
 
 


 
10 วิธีสำหรับการดูแลและป้องกันผู้ป่วยโรคเบาหวาน  
 

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับโรคร้ายแรงอื่นๆ ที่คร่าชีวิตคนไทยไปมากมาย แม้จริงอยู่ว่าโรคเบาหวานไม่ใช่โรคที่มาพร้อมอาการเจ็บปวดรุนแรง แต่หากปล่อยไว้ให้อาการเรื้อรังหนักขึ้นหรือปล่อยให้เกิดภาวะแทรกซ้อนก็ย่อมเป็นช่องทางของการนำมาสู่โรคอื่นๆ ที่ร้ายแรงขึ้นได้ ดังนั้นแล้ว ไม่ว่าขณะนี้คุณจะเป็นผู้ป่วยเบาหวานแล้วหรือไม่ก็ตาม ข้อมูลการดูแลผู้ป่วยเบาหวานดังที่เรากำลังนำเสนอนี้ย่อมเป็นประโยชน์ทั้งสำหรับผู้ป่วยและผู้ที่อาจจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานไม่มากก็น้อยแน่นอน เพราะฉะนั้น มาดูกันเลยค่ะว่ามีวิธีดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวานอย่างไรบ้าง
1. ควรเข้ารับการรักษาอย่างจริงจัง โรคเบาหวานเป็นโรคที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษาต่อติอกันนานหรือผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องรักษากันตลอดชีวิต แต่หากได้รับการดูแลรักษาอย่างจริงจังก็ย่อมมีชีวิตที่แข็งแรงเหมือนคนปกติได้เช่นกัน แต่หากผู้ป่วยละเลยขาดการดูแลใส่ใจสุขภาพตนเองไม่ทำการรักษาจริงจังล่ะก็ย่อมส่งผลให้เกิดอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ ได้
2. ควบคุมพฤติกรรมให้เป็นไปเหมาะสม กล่าวคือผู้ป่วยเบาหวานจะต้องใส่ใจเรื่องของการควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนักถ้าหากอ้วน ด้วยการหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารที่เน้นผักผลไม้โดยเฉพาะอาหารที่ให้กากใยสูงแต่ไม่มีรสชาติหวานเกินไป ในกรณีผู้ที่ป่วยไม่มากหากปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้อย่างเคร่งครัดได้ดีก็มีโอกาสหายขาดจากการเป็นเบาหวานได้แบบไม่ต้องพึ่งพายาเลยค่ะ ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยควรงดอาหารที่มีผลต่อโรคได้แก่
- ลดการบริโภคน้ำตาลหรือของหวานทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นผลไม้รสหวานหรือน้ำผึ้ง สำหรับเครื่องดื่มอย่างน้ำอัดลม น้ำหวาน เหล้าเบียร์ต่างๆ ก็งดด้วย
- ลดปริมาณอาหารจำพวกแป้ง เช่น ข้าว ข้าวเหนียว ก๊วยเตี๋ยว ขนมปัง เผือก วุ้นเส้น มันและบะหมี่ เป็นต้น
- ลดอาหารที่มีไขมัน เช่น ของทอดมันต่างๆ ขาหมู หมูสามชั้น รวมถึงอาหารหรือขนมที่มีส่วนผสมจากกะทิ โดยหันไปทานอาหารจำพวกโปรตีนที่ได้จากเนื้อแดง ไข่ นมและถั่วชนิดต่างๆ ทั้งนี้ควรใส่ใจการทานผักผลไม้ที่ไม่หวานจัด และออกกำลังกายเป็นประจำก็ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นได้แล้ว
3. เลิกสูบบุหรี่ เพราะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งเร็ว อันเป็นต้นเหตุของการนำมาสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆ
4. ดูแลรักษาเท้าอย่างดี ไม่ควรปล่อยให้เท้าของเราเกิดบาดแผลหรือมีการอักเสบเท้าเกิดขึ้น เนื่องจากแผลอาจเน่าจนลุกลามถึงขั้นต้องตัดขาทิ้ง ผู้ป่วยควรใส่ใจรักษาสุขภาพเท้าให้สะอาดด้วยการล้างเท้าด้วยสบู่เพื่อขจัดเชื้อโรค เช็ดเท้าให้แห้งไม่ปล่อยให้มีความอับชื้อบริเวณซอกง่ามของนิ้วเท้า หมั่นตัดเล็บให้ตรงไม่โค้งงอและพยายามระวังอย่าให้ตัดเข้าเนื้อ การเดินนอกบ้านควรสวมรองเท้าเสมอเพื่อป้องกันการเดินเหยียบของมีคม ทั้งนี้ ไม่ควรเลือกสวมรองเท้าและถุงเท้าที่รัดแน่นเท้าจนเกินไป กรณีที่ผู้ป่วยมีหูดหรือตาปลาที่บริเวณเท้า แนะนำให้แพทย์รักษาไม่ควรแกะหรือตัดเนื้อเหล่านั้นออกด้วยตนเอง และหากมีตุ่มแผลพองอักเสบที่เท้าควรรีบให้แพทย์รักษาอย่างจริงจังทันที
5. มีขนมหวานพกพาติดตัวไว้ทานเสมอ ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องทานยาหรือได้รับการฉีดยาเพื่อรักษาโรคเบาหวานอยู่ อาจมีช่วงเวลาที่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำลง กล่าวคือผู้ป่วยมักจะมีอาการใจหวิว ใจสั่น ตาลาย หน้ามืด มีเหงื่อออก ตัวเย็นเหมือนตอนเวลาหิวข้าว หากมีอาการหนักมากจนทำให้เป็นลมหมดสติหรือชักได้ แนะนำให้หมั่นสังเกตอาการตนเองเสมอและที่สำคัญผู้ป่วยควรพกขนมหวานเล็กๆ ไว้ติดตัวเป็นประจำ หากรู้สึกเริ่มมีอาการดังกล่าวจะได้รีบหยิบมาทานเพื่อช่วยคุมระดับน้ำตาลให้คงที่ดังเดิม อาการดังกล่าวก็จะค่อยๆ หายไปและดีขึ้นได้
6. ตรวจปัสสาวะด้วยตนเอง ผู้ป่วยควรหมั่นเฝ้าสังเกตถึงความผิดของปัสสาวะด้วยตัวเองและควรเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อหาเบาหวานจากทางโรงพยาบาลเป็นประจำ เพื่อจะได้ทราบช่องทางของการเกิดโรคในวิธีหลากหลายมากขึ้น
7. การซื้อยาชุดทาน ผู้ป่วยเบาหวานไม่แนะนำให้ซื้อยาชุดรับประทานเอง เนื่องจากยาชุดบางชนิดมีส่วนกระตุ้นให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ แต่หากจำเป็นต้องทานยาดังกล่าวจริงๆ คุณต้องมั่นใจว่าตัวยาเหล่านั้นไม่ได้มีผลออกฤทธิ์กระตุ้นให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูง
8. พกบัตรแสดงข้อความอาการป่วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจมีโอกาสเป็นลมหมดสติในขณะอยู่นอกบ้านได้ ดังนั้น แนะนำให้เขียนข้อความในกระดาษแผ่นเล็กแนบติดกระเป๋าไว้ โดยระบุว่าเป็นโรคเบาหวานและควรพกยาติดตัวไปด้วยทุกครั้ง ทั้งนี้ ควรเขียนบอกชื่อยารักษาในกระดาษข้อความนั้นๆ การเขียนข้อความพกพาติดตัวไว้เสมอแบบนี้ กรณีที่เป็นลมหมดสตินอกบ้าน หากถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลอื่นๆ ที่ไม่เคยเข้ารับการรักษา โรงพยาบาลนั้นๆ จะได้ทราบประวัติการเจ็บป่วยมาก่อนและเพื่อจะได้ให้การเร่งรักษาอย่างทันท่วงทีนั่นเอง
9. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองใหม่ ผู้ที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวานสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวได้ง่ายๆ ด้วยการหันมาทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ลดปริมาณอาหารหวานมัน ไม่ปล่อยปละละเลยให้อ้วน ทั้งนี้ ควรหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำพร้อมกับทำจิตใจให้ร่าเริงเบิกบานแจ่มใส ไม่เครียดกังวลกับสิ่งใดๆ เป็นเด็ดขาด
10 การป้องกันในรายที่ญาติเป็นเบาหวานมาก่อน สำหรับบางครอบครัวที่สมาชิกในบ้านเคยมีประวัติการป่วยเป็นโรคเบาหวานมาก่อนบ้างแล้ว ผู้ที่ยังไม่ป่วยควรยิ่งต้องระวังตัวเป็นพิเศษ โดยควรเข้ารับการตรวจเช็คปัสสาวะหรือเลือดบ้าง เพราะหากพบว่าเป็นเบาหวานในระยะเริ่มต้นใหม่ๆ ก็ย่อมสามารถควบคุมดูแลอาการของโรคไม่ให้ร้ายแรงหนักขึ้นได้และยังมีหนทางรักษาให้หายขาดจากโรคเบาหวานได้ด้วย
การดูแลสุขภาพตนเองโดยปกติแล้ว ไม่ว่าเราจะป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือไม่เราก็ต้องให้การใส่ใจเรื่องสุขภาพเบื้องต้นกันตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ บริโภคอาหารหวานมันต่างๆ ให้น้อยลง หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ดื่มสุราและควรหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เท่านี้ก็จะช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้แล้วค่ะ

 

ข่าว ณ. วันที่ 30 พ.ค. 2561 เวลา 08.25 น. โดย คุณ สุกัญญา บุญประดับ

ผู้เข้าชม 7212 ท่าน

 
 
 
 
 
 
 
รับเรื่องราวร้องเรียน
โทร : 099-271-7355